จาก http://www.thailandoutdoor.com
กล้องในยุคปัจจุบันนี้นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความทันสมัยมากทีเดียว ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องระบบโฟกัสอัตโนมัติ หรือการวัดแสง ถ้าจะกล่าวเฉพาะการวัดแสงก็จะพบว่าได้มี
การสร้างสรรค์ระบบการวัดแสงใหม่ๆขึ้นมาเพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง
การวัดแสงมากนัก ด้วยเทคโนโลยีชั้นเยี่ยมนี้ทำให้กล้องถ่ายภาพแบบ 35 mm SLR ในปัจจุบัน
มีความสะดวกต่อการใช้งานเกือบจะเทียบเท่ากล้องที่คนไทยมักเรียกกันว่า "กล้องปัญญาอ่อน"
เลยทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีในกล้องไฮเทคจะสลับซับซ้อนเพียงใด มันก็ยังไม่สามารถทำงาน
แทนมนุษย์ได้ทั้งหมด ช่างภาพที่คิดถ่ายภาพอย่างจริงจังก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีความเข้าใจหลักเกณฑ์
พื้นฐานทางด้านนี้
ถ้าจะกล่าวเฉพาะเรื่องการวัดแสง ก็ต้องบอกว่าระบบวัดแสงทั้งแบบเฉลี่ยหนัก
กลางหรือแบบแบ่งพื้นที่หลายส่วน รวมถึงระบบวัดแสงแบบRGB ก็ยังไม่ใช่เป็นหลักประกันได้
แน่นอนว่าภาพของคุณจะได้รับค่าแสงอย่างถูกต้อง ระบบวัดแสงเฉพาะจุดบวกกับความเข้าใจ
ของช่างภาพต่างหากที่จะสามารถทำให้เขามั่นใจได้ว่าภาพที่ออกมาจะเป็นไปตามที่เขาคิดไว้
ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่ว่าเทคโนโลยีไม่มีประโยชน์ เทคโนโลยีนั้นมีทั้งคุณและโทษ
เพียงแต่เราต้องใช้มันอย่างสร้างสรรค์และรับรู้ถึงข้อจำกัดบางอย่างของมันเท่านั้นเอง ในที่นี้
ผมจะขอพูดเจาะลึกในรายละเอียดของการวัดแสงกับระบบโซนที่คิดค้นโดย Ansel Adams
ช่างภาพขาวดำนามอุโฆษ โดยจะเน้นถึงการวัดแสงแบบเฉพาะจุดเท่านั้น เพราะเป็นระบบวัด
แสงที่เปิดโอกาสให้ช่างภาพได้วัดค่าแสงได้ละเอียดมากขึ้น ถ้าคุณไม่มีระบบวัดแสงแบบนี้ก็ไม่
เป็นไร เพราะคุณยังสามารถใช้ระบบวัดแสงที่มีในกล้องของคุณแทนได้ ไม่ว่าจะโดยการใช้
เลนส์เทเลช่วยให้พื้นที่วัดแสงของคุณแคบลงหรือโดยการเคลื่อนตัวเข้าไปวัดแสงใกล้ๆ
ก่อนที่คุณจะอ่านบทความนี้ต่อไป คุณต้องมีความเข้าใจเรื่องค่าแสงดีพอสมควร
ต้องเข้าใจว่า ความไวแสงของฟิล์ม ความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงมีผลต่อค่าแสงอย่างไร เช่น
ถ้าผมบอกว่า ค่าแสงที่ 1/125 sec. f/5.6 ISO 50 และ 1/30 sec. f/11 ISO 50 และ 1/125 f/8
ISO100 มีค่าเทียบเท่ากัน คุณก็ต้องเข้าใจในคำกล่าวนี้ หรือคุณก็ต้องเข้าใจว่า วัตถุที่วัดแสงได้
1/250 f/8 มีความสว่างหรือค่าการสะท้อนแสงมากกว่าวัตถุที่วัดแสงได้ 1/125 f/2.8 อยู่ 4 สต็อป
อย่างนี้เป็นต้น ถ้าคุณไม่เข้าใจถึงสิ่งเหล่านี้ คุณสามารถหาหนังสือถ่ายภาพทั่วๆไปมาอ่านได้ไม่
ยากนัก
ปฐมบทของระบบโซน
เครื่องวัดแสงทั้งหลายนั้นจะอ่านค่าแสงออกมาเป็นค่าสีเทากลางเสมอ ค่าสีเทากลาง
ก็คือสีเทาที่สะท้อนแสง 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีโทนสีเช่นเดียวกับกระดาษ Gray Card ของ
Kodak นั่นหมายความว่า ถ้าคุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่กำแพงสีขาว และปรับค่าการรับแสง
ตามที่เครื่องวัดแสงบอก ภาพที่คุณจะได้ก็คือภาพกำแพงสีเทาที่สะท้อนแสง 18 เปอร์เซ็นต์
และถ้าคุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่ กระเป๋ากล้องสีดำ ภาพที่ได้ก็จะเป็นกระเป๋ากล้องสีเทาเช่นกัน
Ansel Adams ปรมาจารย์ภาพขาวดำ ได้แบ่งโทนสีเทาออกเป็น 11 โซน ตั้งแต่โซน
0 ถึง โซน 10 โดยโซน 5 ก็คือค่าสีเทากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานในเครื่องวัดแสงทั่วไปดังกล่าว
ข้างต้นนั่นเอง ซึ่งค่าสีเทากลางนี้จะมีค่าการสะท้อนแสงเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า
ถ้ามีแสงมาตกกระทบเท่ากับ 100 หน่วย มันจะสะท้อนแสงออกมา 18 หน่วย และคุณก็รู้ว่า ถ้า
คุณลดค่าแสงลงจากค่าที่เครื่องวัดแสงบอก(โดยปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ไวขึ้น หรือหรี่รูรับแสง
ให้แคบลง) คุณก็จะได้ภาพที่มืดลงหรือมีสีเทาที่เข้มขึ้น และถ้าคุณเพิ่มค่าแสงขึ้น ก็จะได้ภาพ
ที่มีโทนสีที่สว่างขึ้นหรือมีสีเทาที่สว่างขึ้น Ansel Adams ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อลดค่าแสงจากที่
อ่านได้ในเครื่องวัดแสงลง 1 สต็อป คุณจะได้สีเทาที่จัดอยู่ในโซน 4 และถ้าเพิ่มค่าแสงขึ้น 1
สต็อปคุณก็จะได้สีเทาที่อยู่ในโซน 6 เป็นเช่นเรื่อยไป นั่นคือ โซน 4 จะมีค่าสีเทาที่เข้มกว่า โซน 5
หรือมีค่าการสะท้อนแสงน้อยกว่าโซน 5 อยู่ 1 สต็อป หรือโซน 8 จะมีค่าสีเทาที่สว่างกว่าโซน 5
หรือมีค่าการสะท้อนแสงมากกว่าโซน 5 อยู่ 3 สต็อป
จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า โซน 0 ถึง 10 นั้นก็คือค่าสีเทาที่ไล่จากเข้มไปอ่อน
สีเทาที่เข้มที่สุดก็คือสีดำ และสีเทาที่อ่อนที่สุดก็คือสีขาว และโซนแต่ละโซนอยู่ติดกันนั้นก็สว่าง
หรือเข้มต่างกันอยู่ 1 สต็อป ถ้าจะถามว่าสีดำหรือสีขาวจะอยู่ในโซนเท่าไรนั้น คำตอบมันขึ้น
อยู่กับชนิดของฟิล์มที่ใช้ ฟิล์มขาวดำ ฟิล์มสี หรือฟิล์มสไลด์ก็จะให้คำตอบที่แตกต่างกัน
สำหรับฟิล์มขาวดำนั้น Ansel Adams ได้บอกว่า โซน 0 ก็คือสีดำสนิท และโซน 10 ก็คือสีขาว
ที่ไม่มีรายละเอียด และยังบอกอีกว่า ช่วงโซนที่ยังให้รายละเอียดกับภาพอยู่ คือไม่ดำและขาว
จนขาดรายละเอียดก็คือ โซน 2 ถึง 8 ซึ่งเรียกว่า Textural Range
มีอีกนะคะ เดี๋ยวมาต่อค่ะ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment