Sunday, March 22, 2009

ระบบโซนกับภาพสี



สิ่งที่ Ansel Adams ได้กำหนดไว้นั้นจะเกี่ยวข้องอยู่กับสีขาว เทา และดำ ทั้งนี้เพราะ
ว่าเขาเป็นช่างภาพขาวดำนั่นเอง คำถามจึงมีอยู่ว่าคุณจะเอาทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์
ใช้กับการถ่ายภาพสีได้อย่างไร ซึ่งประเด็นคำตอบนั้นก็คือ ถ้าคุณสามารถรู้ได้ว่าวัตถุสี
อะไรควรจะอยู่ในโซนเท่าไร หรือมีค่าการสะท้อนแสงแตกต่างจากโซน 5 อยู่กี่สต็อป
คุณก็สามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฎีดังกล่าวได้ การที่ต้องอ้างอิงโซนอื่นๆกับโซน 5
นั้นก็เพราะว่า เครื่องวัดแสงทั่วไปจะอ่านค่าแสงเป็นค่าเทากลางโซน 5 เสมอ
การอ้างอิงดังกล่าวจะทำให้คุณนำทฤษฎีนี้ไปใช้งานจริง
ได้ง่ายขึ้น ผมขอแนะนำเป็นหลักกว้างๆว่า สีอะไรบ้างที่มีค่าการสะท้อนแสงประมาณ
ได้กับค่าสีเทากลาง 18 เปอร์เซ็นต์ (โซน 5) ดังนี้



  • สีเขียวที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เช่น สีเขียวของใบไม้ ทุ่งหญ้า
  • สีน้ำตาล เช่น สีเปลือกไม้ ใบไม้แห้ง
  • สีแดง เช่นสีแดงของดอกไม้ต่างๆ
  • สีฟ้า เช่น ท้องฟ้าที่มีสีฟ้าเข้มๆ







การที่คุณรู้ว่าวัตถุใดสีใดบ้างที่อยู่ในโซน 5 ก็จะทำให้คุณรู้ได้ไม่ยากว่า

วัตถุใดสีใดบ้างที่อยู่ในโซนอื่นๆ ก็โดยการเปรียบเทียบค่าการสะท้อนแสง

ของวัตถุนั้นกับวัตถุที่อยู่ในโซน 5เช่น คุณรู้ว่าใบไม้สีเขียวอยู่ในโซน 5

และคุณก็อาจจะพอประมาณได้ว่า ถ้าเป็นใบไม้สีเหลือง
อ่อนก็น่าจะอยู่ประมาณโซน 5ครึ่ง หรือ 6 เพราะค่าการสะท้อนแสงของสีเหลือง

นั้นน่าจะมากกว่าสีเขียวอยู่ประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งสต็อป

แต่อย่าลืมว่า นี่คือข้อแนะนำคร่าวๆเท่านั้น เพราะโทนสีนั้นแตกต่างกันไปตาม
ธรรมชาติของวัตถุนั้นๆ เช่น ใบไม้ต่างๆก็มีโทนสีเขียวที่ไม่เท่ากัน

และสิ่งที่ผมบอกว่าเป็นสีเขียวไม่อ่อนไม่แก่คุณก็ไม่รู้อยู่ดีว่ามันเป็นสีเขียวอย่างไรแน่ ประสบการณ์และการจดบันทึกข้อมูลการวัดแสงขณะถ่ายภาพจะทำให้

คุณเรียนรู้ได้ไม่ยากว่า วัตถุสีใดควรจะอยู่ในโซนเท่าไรหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

ควรจะอันเดอร์หรือโอเวอร์เท่าไรจากค่าแสงที่เครื่องวัดแสงอ่านได้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเครื่องวัดแสงทั่วไปจะอ่านค่าแสงออกมาเป็นโซน 5 ทั้งสิ้น
ในทางปฏิบัติ ถ้าคุณวัดแสงกับวัตถุที่อยู่ในโซน 5 และปรับค่าแสงตามนั้น

ภาพวัตถุดังกล่าวก็จะมีโทนสีที่ถูกต้องหรือเข้มอ่อนตามที่ตาคุณเห็น แต่ถ้าคุณวัดแสง

ที่วัตถุซึ่งอยู่ในโซนอื่น และคุณเชื่อค่าที่เครื่องวัดแสงบอก โทนสีของวัตถุในภาพที่จะ

ได้ก็จะไม่เหมือนกับที่ตาคุณเห็นขณะถ่ายมัน ดังตัวอย่างของกำแพงสีขาวหรือ

กระเป๋ากล้องสีดำที่กล่าวมาแล้ว

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณจะถ่ายภาพทุ่งหญ้าคายามถูกแสงแดดตอนเย็นซึ่งมีสีทอง ถ้า
คุณวัดแสงเฉพาะจุดไปที่ต้นหญ้า(สีทอง) และคุณเชื่อค่าแสงที่เครื่องวัดแสงบอกมา

คุณอาจจะได้ภาพหญ้าคาที่มีโทนสีเข้มกว่าภาพที่ตาคุณเห็น และเพื่อให้ได้ภาพ

ที่มีโทนสีเหมือนตาเห็น
คุณอาจจะต้องเพิ่มค่าแสงไปอีก 1 สต็อป กล่าวคือ คุณให้หญ้าคาที่สะท้อน

แสงสีทองอยู่ในโซน 6
(โอเวอร์กว่า โซน 5 อยู่ 1 สต็อป)

ความเปรียบต่าง(Contrast)ของฟิล์มและวิธีทดสอบ


หลักการวัดแสงที่กล่าวมาแล้วนั้นยังไม่ได้พิจารณาถึงความเปรียบต่าง(Contrast)
ของฟิล์มซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันตามแต่ชนิดและรุ่นของฟิล์ม เพื่อให้เข้าใจถึง

ความจริงข้อนี้ผมจะให้คุณทดลองบางอย่างดังนี้ ให้คุณใช้ฟิล์มสไลด์ลอง

ถ่ายภาพผ้าขนหนูสีขาว สีดำ และใบไม้สีเขียวหรืออาจจะเป็นกระดาษสีเทามาตรฐาน

(Gray Card)ก็ได้ โดยถ่ายสามสิ่งนี้ในภาพเดียวกันกลางแดดจ้า

และลองวัดแสงไปที่ใบไม้หรือGray Card ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ปรับค่าแสงตามที่วัดได้ คุณจะได้ภาพที่ให้โทนสีของใบไม้หรือ Gray Card

ถูกต้องตามที่ตาเห็น แต่คุณอาจจะพบว่าผ้าขนหนูสีขาวหรือดำในภาพไม่มี

รายละเอียดให้เห็นเลย ซึ่งจริงๆแล้วคุณไม่ได้วัดแสงผิด แต่นั่นเป็นเพราะฟิล์มที่คุณใช้ไม่สามารถให้รายละเอียดของวัตถุที่มี
ค่าการสะท้อนแสงแตกต่างกันมากๆได้(ผ้าขนหนูสีขาวมีค่าการสะท้อนแสงสูง

ผ้าสีดำมีค่าการสะท้อนแสงต่ำ ส่วนGray Card

มีค่าการสะท้อนแสงเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์)

จากความจริงดังกล่าว ทำให้คุณรู้ว่าสิ่งที่ตาคุณมองว่าสวยหรือมีรายละเอียดครบ
ถ้วน ภาพที่คุณถ่ายอาจจะไม่สวยเหมือนตาเห็นก็ได้ คุณจึงจำเป็นต้องรู้ค่าช่วงของ

โซนฟิล์มที่คุณใช้อยู่นั้นสามารถเก็บรายละเอียดได้ (Textural Range)

โดยวิธีการทดสอบดังนี้

ถ่ายภาพวัตถุสีขาวที่มีรายละเอียด เช่น ผ้าขนหนูสีขาว โดยใช้ฟิล์มสไลด์ที่คุณคิด
จะทดสอบ จัดภาพให้เต็มเฟรม โฟกัสให้ชัด ปรับค่าแสงให้อันเดอร์กว่า

ค่าที่เครื่องวัดแสงอ่านได้
3 สต็อป เริ่มต้นถ่ายจากค่าแสงนี้เป็นค่าแรก จากนั้นถ่ายภาพต่อๆมาโดยแต่ละ

ภาพให้เพิ่มค่า
แสงทีละครึ่งสต็อป ถ่ายไปจนกระทั่งภาพสุดท้ายมีค่าแสงที่โอเวอร์ 3 สต็อป

นั่นคือคุณถ่ายไป
ทั้งหมด 13 ภาพ โดยเริ่มจากโซน 2 ถึงโซน 8 ซึ่งแต่ละภาพจะมีโทนสีห่าง

กันอยู่ครึ่งโซน(ครึ่ง
สต็อป) ฟิล์มที่ล้างออกมาคุณจะได้ภาพที่มีโทนสีเริ่มจากมืดจนขาดรายละเอียดจน

ถึงขาวจนขาดรายละเอียด โดยภาพที่ 7 จะเป็นโทนสีเทากลาง

18 เปอร์เซ็นต์ (โซน 5) จากนั้นตรวจดูว่าที่ภาพใดหรือโซนใดที่ภาพผ้าขนหนู

เริ่มแสดงรายละเอียดให้เห็น ซึ่งจะมีอยู่สองภาพหรือสองโซน คือมืดแต่พอเห็น

รายละเอียดกับสว่างแต่ยังมีรายละเอียด ช่วงโซนดังกล่าวก็คือสิ่งที่ Ansel
Adams เรียกว่า Textural Range นั่นเอง โดยทั่วไปฟิล์มสไลด์จะให้ค่า

Textural Range ใกล้
เคียงกันคือประมาณ โซน 2 หรือ 3 ไล่ไปจนถึง โซน 7 หรือ 8 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ

โอเวอร์และอัน
เดอร์ไม่เกิน 2-3 สต็อป แต่คุณควรจะทดสอบกับฟิล์มที่คุณใช้เป็นประจำจะดีกว่า

นำค่านี้ไปใช้
งานเลย เพราะจากแถบฟิล์มที่คุณทดสอบคุณยังได้รู้อีกว่า โซนแต่ละโซนมีโทน

สีเป็นอย่างไร
ถึงแม้ว่าโทนสีที่ได้จากการทดสอบจะเป็นโทนสีเทา แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับ

สีอื่นๆได้

ถ้าจะถ่ายภาพให้ได้ดีก็ต้องไม่เป็นคนเชื่อคนอื่นง่าย ทดลองด้วยตัวเองดีกว่า

ถามผู้อื่น
เชื่อผมเถิดครับ ...ไม่มี "ทางลัด" ในการถ่ายภาพหรอก

No comments:

Post a Comment